สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
จ่ายหนี้ไม่ไหวทำอย่างไรดี 4 วิธีแก้หนี้ง่ายๆอย่างเป็นระบบ เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักหนี้สินอย่างถาวร
 


 

จ่ายหนี้ไม่ไหวทำอย่างไรดี
4 วิธีแก้หนี้ส่วนบุคคลง่ายๆอย่างเป็นระบบเพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักหนี้สินอย่างถาวร

ใครก็ตามที่เริ่มรู้สึกว่าอึดอัดกับการหาเงินมาชำระคืนหนี้สิน
หรือเริ่มชำระหนี้สินล่าช้ากว่ากำหนด
หรือเริ่มผิดนัดชำระหนี้
หรือแม้กระทั่งที่เริ่มไม่สนใจกับตารางการชำระหนี้ที่มีอยู่
ต้องเริ่มต้นติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ทันที
อย่าตัดสายโทรศัพท์
หรือหนีหายไปจากเจ้าหนี้
เพราะนั่นอาจยิ่งทำให้หนี้ที่มีปัญหากลายเป็นปัญหาที่ใหญ่โตมากขึ้น
ในทางตรงกันข้ามต้องกล้าเผชิญหน้ากับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาต่อรองการชำระหนี้โดย พยายามอย่าให้เป็นหนี้เสีย
จริงๆแล้วธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
มักมีแนวทางและเงื่อนไขในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินหลากหลายรูปแบบอยู่แล้ว
เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การพักชำระหนี้ชั่วคราว
การยืดระยะเวลาการชำระหนี้
การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
การปรับลดเงินงวดผ่อนชำระคืน หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการเจรจาร่วมกัน


4 วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้คนที่รู้สึกว่าหนี้ที่มีอยู่กำลังจะเป็นปัญหาหรือกลายเป็นลูกหนี้ที่มีปัญหาไปแล้วสามารถแก้หนี้ได้ง่ายๆอย่างเป็นระบบและเป็นทางออกของปัญหาอย่างถาวร

1.การเพิ่มจำนวนเงินชำระหนี้ในแต่ละงวด

แนวทางนี้เป็นแนวทางที่ตรงไปตรงมาและง่ายที่สุดในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแนวทางที่ใช้กำปั้นทุบดิน
ผู้กู้หรือลูกหนี้อาจหาแนวทางในการลดรายจ่ายต่างๆ เช่น การลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า
ด้วยการประหยัดน้ำประหยัดไฟ
การลดค่าอาหารด้วยการซื้อวัตถุดิบราคาไม่แพงมาทำอาหารทานเอง
รวมไปถึงการลดการช็อปปิ้งต่างๆ นอกจากนั้นผู้กู้หรือลูกหนี้ก็อาจหาวิธีการในการเพิ่มรายได้ตามทักษะที่มี เช่น การสอนพิเศษ
การขายของออนไลน์ การทำคอนเทนต์ต่างๆ
ในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติมไปจ่ายหนี้

2.การยืดระยะเวลาชำระหนี้ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ลูกหนี้อาจติดต่อกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอยืดหนี้หรือขยายเวลาชำระหนี้

สำหรับลูกหนี้ที่อาจมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะผ่อนจ่ายภาระการชำระหนี้ในแต่ละงวดเหมือนเดิม
ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการมีรายได้ลดลง
หรืออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนั้นลูกหนี้อาจเจรจาขอพักชำระเงินต้นสำหรับลูกหนี้ที่อาจมีปัญหาต้องออกจากงานไม่มีรายได้ หรือมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ
อย่างไรก็ตามแนวทางในการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ดังกล่าวนี้อาจทำให้ลูกหนี้หรือผู้กู้มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น
แต่สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆในหลายๆครั้ง
ก็พบว่าสถาบันการเงินบางแห่งอาจมีมาตรการในการพักชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยชั่วคราว ดังนั้นการติดต่อกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะช่วยทำให้ลูกหนี้พบทางออกในการแก้ปัญหามากกว่าการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงไม่ติดต่อกับเจ้าหนี้

3.การปรับลดเงินต้น

ทั้งนี้การปรับลดเงินต้นอาจเริ่มต้นด้วยการสำรวจทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ว่ามีทรัพย์สินรายการใดบ้างที่สามารถนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ได้ โดยทำการประเมินราคาที่คาดว่าจะขายได้
ณ วันนี้
แล้วลองพิจารณาขายทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อนำไปลดภาระหนี้
เมื่อมีการลดยอดเงินต้นคงค้างลงได้ก็จะทำให้ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในอนาคตลดลงด้วยเช่นกัน
หลังจากสำรวจทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ลูกหนี้อาจใช้การแฮร์คัตเพื่อปิดจบหนี้ด้วยเงินก้อน
เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที
เหมาะสำหรับคนที่มีเงินก้อนจากโบนัส
เงินออม
เงินชดเชยต่างๆที่ได้มาจากการออกจากงาน
หรือจากการขายทรัพย์สิน
แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับการชำระยอดเงินคงค้างทั้งหมด
ก็อาจติดต่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อต่อรองขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการเจรจาขอส่วนลดเพื่อปิดจบหนี้ดังกล่าวด้วยเงินก้อนที่มีจำนวนน้อยกว่ามูลหนี้คงค้างทั้งหมดได้
การแฮร์คัตดังกล่าวก็อาจจะช่วยทำให้ลูกหนี้
หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกหนึ่งก้อน
และสามารถบริหารจัดการหนี้สินที่ยังคงเหลือได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามในการปรับลดเงินต้นสำหรับลูกหนี้ที่รู้สึกว่าหนี้ที่มีอยู่เริ่มเป็นปัญหา
ด้วยการสร้างกำลังใจในการบริหารจัดการหนี้สินอย่างง่ายๆ
โดยเรียงลำดับการชำระคืนหนี้
และเลือกจัดการกับหนี้สินที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุดให้หมดไปก่อน
นอกจากจะเป็นการสร้างกำลังใจว่าสามารถปลดหนี้บางก้อนได้แล้ว
ยังทำให้เรามีเงินเหลือเพื่อนำไปชำระหนี้ก้อนอื่นๆได้อีกด้วย

4.การปรับลดดอกเบี้ย แนวทางนี้อาจแก้ไขหนี้ได้ง่ายๆ

ด้วยการเรียงลำดับการชำระคืนหนี้ โดยเลือกแก้ไขหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน
เพื่อเป็นการช่วยประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
นอกจากนั้นผู้กู้หรือลูกหนี้อาจทำการติดต่อกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอยกเลิกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
และเจรจาขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่
อีกแนวทางหนึ่งที่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการชำระคืนหนี้คือการเปลี่ยนประเภทหนี้จากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงให้เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง
เช่น การแปลงหนี้บัตรเครดิตที่ชำระไม่เต็มจำนวนและตรงเวลาซึ่งจะถูกคิดดอกเบี้ยในอัตรา 16% ต่อปี เป็น term loan ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้น 
นอกจากนั้นลูกหนี้ก็อาจใช้แนวทางการเปลี่ยนเจ้าหนี้หรือรีไฟแนนซ์เพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ย
โดยการติดต่อขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
แล้วนำเงินที่ได้ไปปิดชำระหนี้เดิมที่คงค้างอยู่ก่อนกับเจ้าหนี้รายเดิม
ซึ่งในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆก็มีการให้รีไฟแนนซ์ทั้งในส่วนของสินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ
อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจรับข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาหนี้กับเจ้าหนี้
ลูกหนี้ควรต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองให้ดีก่อน
ไม่รีบร้อนยอมรับเงื่อนไขที่ตนเองไม่สามารถทำได้
เพราะก็อาจส่งผลทำให้กลายเป็นหนี้ที่มีปัญหาในอนาคตเหมือนเดิม
 
www.thaipfa.co.th

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA