คู่มือว่าที่นักวางแผนการเงิน CFP (OperationManual)
เป็นสิ่งที่ว่าที่นักวางแผนการเงิน CFP วันที่ทางศูนย์อบรมเลยรวบรวม ข้อมูลต่างๆที่ ว่าที่นักวางแผนการเงิน CFP ต้องทราบ มีไรบ้างมาดูกัน ดังนี้- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การใช้หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ต่ออายุใบอนุญาตอื่น
- วิธีการสมัครสอบ
- เกณฑ์การผ่านการอบรมก่อนเข้ารับการทดสอบ
- ค่าธรรมเนียมในการสอบ
- วิธีการเทียบเคียงความรู้
- กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบ
- ตารางสอบ CFP ประจำปี (วันเปิดรับสมัครสอบและวันปิดรับสมัครสอบด้วย)
- คู่มือสมัครหลักสูตรทบทวนความรู้เพื่อสอบ (คู่มือสมัครหลักสูตรติว)
- คู่มือจองตารางดูวีดีโอซ่อม (สำหรับคนขาดเรียน)
- คู่มือการอบรมซ้ำฟรีจนกว่าจะสอบผ่าน
- วิธีการย้ายรุ่นอบรม (มีค่าธรรมเนียมนะครับ)
- คู่มือดูคะแนน Post-test
- หานักวางแผนการเงิน
- สัดส่วนของข้อสอบและแนวข้อสอบเบื้องต้น (Paper1)
- ตัวอย่างข้อสอบ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP จะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานดังต่อไปนี้![]() |
![]() |
ศูนย์อบรม ThaiPFA ( Thai Professional Finance Academy ) www.thaipfa.co.th รับผิดชอบการอบรมหลักสูตรทางการเงิน เรื่องอบรมนึกถึง ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดอบรมและพัฒนาหลักสูตรนักวางแผนการเงินCFP |
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย www.tfpa.or.th รับผิดชอบการขอยกเว้นการอบรม การทดสอบ และการขึ้นทะเบียน Tel. 02-009-9393 |
ศูนย์อบรมและศูนย์ทดสอบแยกการรับผิดชอบเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
คุณวุฒิวิชาชีพ “นักวางแผนการเงิน CFP”
นักวางแผนการเงิน CFP มีหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
คุณวุฒิวิชาชีพ “ที่ปรึกษาการเงิน AFPT”
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
หลักสูตรอบรม
นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติเป็นอย่างดีตามมาตรฐานที่สมาคมฯ กำหนด โดยจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานความรู้ 6 ชุดวิชา ดังนี้- ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial Planning, Taxation, and Ethics and Practice Standards)
- ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
- ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning) (ฉบับปรับปรุง)
- ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning)
- ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning)
- ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning)
- ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction)
รูปแบบการอบรมและการสอบของชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2564)
รายละเอียดของรายวิชาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 - 5
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2564)
หนังสืออ่านเตรียมสอบหลักการวางแผนการเงิน CFP®
การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 6 จำเป็นต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ก่อน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้โดยตรงกับสถาบันอบรมของสมาคมฯ ทั้งนี้ สถาบันอบรมจะเป็นผู้กำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมของแต่ละชุดวิชา
หมายเหตุ: หลักสูตรอบรมนักวางแผนการเงิน CFP® สามารถใช้เป็นหลักสูตรอบรมความรู้สำหรับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อหลักสูตรอบรม |
จำนวนชั่วโมงที่อนุมัติ |
|
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 22 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 1 |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 21 ชั่วโมง |
|
จำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 12 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 12 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 2 |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 24 ชั่วโมง |
|
จํานวนชั่วโมงความรู้ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 8 ชั่วโมง | ||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 16 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 21 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 3 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 17.30 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 9 ชั่วโมง |
||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 9 ชั่วโมง |
||
ข้อมูล ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2562 |
ดาวน์โหลดรายละเอียดจำนวนชั่วโมงความรู้ที่ได้รับอนุมัติ
ระยะเวลาการอบรมการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงินแต่ละชุดวิชา มีจำนวนชั่วโมงการอบรมรวมทั้งสิ้น 40 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น
- การอบรมในห้องเรียน (classroom) จำนวน 24 ชั่วโมง
- การศึกษาด้วยตนเอง (self study) จำนวน 16 ชั่วโมง