สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
วางแผนการเงินกับอาจารย์ปิง | วางแผนภาษี คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังไง? เสียเท่าไหร่?
 

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังงัย เงินได้สุทธิเท่าไรเสียภาษีตามอัตราขั้นบันไดเท่าไร?
  • วางแผนการเงินกับอาจารย์ปิงวันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันนะครับ ทั้งนี้ใครก็ตามที่มีรายได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคมของปีใดๆ ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยต้องรวบรวมรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทุกประเภทของตนเองตลอดปีภาษีไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ ส่วนใครที่ยังไม่ทราบว่ารายได้ขั้นต่ำเท่าไรถึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยังไม่ทราบว่ารายได้หรือเงินได้พึงประเมินที่นำมาคำนวณภาษีมีทั้งหมดกี่ประเภท และเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี มีอะไรบ้างสามารถติดตามรายละเอียดได้จากลิงค์ที่ใส่ให้ไว้ในคอมเมนต์ด้านล่างนะครับ
 
  • การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 วิธี ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 เท่านั้นหรือพูดง่ายๆก็คือมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีรายได้จากแหล่งอื่นๆอีกจะคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 เพียงวิธีเดียว แต่ถ้าหากผู้มีเงินได้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภทแต่ไม่รวมเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตลอดปีภาษีรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ด้วย แล้วพิจารณาเปรียบเทียบภาษีตามวิธีการคำนวณทั้ง 2 วิธี โดยต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้สูงกว่า


การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1
  • ให้นำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี หักออกด้วยค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด เหลือเป็นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แล้วค่อยหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด (แต่ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) เหลือเป็นเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้วจึงนำไปหักค่าลดหย่อนเงินบริจาค แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด เหลือเป็นเงินได้สุทธิซึ่งจะต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือก็คือจำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 นั่นเอง        
  • ทั้งนี้เงินได้สุทธิตั้งแต่ 0 - 150,000 บาท จริงๆแล้วจะมีอัตราภาษี 5% แต่ปัจจุบันได้รับยกเว้นภาษี ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดและภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 0 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 150,000 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดและภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 7,500 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 300,000 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 20,000 บาท และภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 27,500 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 500,000 - 750,000 บาท อัตราภาษี 15% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 37,500 บาท และภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 65,000 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 750,000 - 1,000,000บาท อัตราภาษี 20% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 50,000 บาท และภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 115,000 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 1,000,000 - 2,000,000บาท อัตราภาษี 25% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 250,000 บาท และภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 365,000 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 2,000,000 - 5,000,000บาท อัตราภาษี 30% ส่งผลทำให้ภาษีสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 900,000 บาท และภาษีสะสมสูงสุดในขั้นเงินได้สุทธินี้เท่ากับ 1,265,000 บาท
  • ขั้นเงินได้สุทธิ เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป อัตราภาษี 35%
รูปประกอบ
เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี                                                           xxxx (1)
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด                                                                          xxxx (2)
เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                                             xxxx (3) = (1) - (2)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค)                     xxxx (4)
เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ                                                                  xxxx (5) = (3) - (4)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด                                            xxxx (6)
เหลือเงินได้สุทธิ                                                                                                  xxxx (7) = (5) – (6)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา              
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1                                                                      xxxx (8)
 
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ อัตราภาษี (%) ภาษีสูงสุด
ในแต่ละขั้นเงินได้
ภาษีสะสมสูงสุด
ของแต่ละขั้นเงินได้
0   -     150,000 5  ยกเว้น*  0
 เกิน 150,000   -     300,000 5  7,500  7,500
 เกิน 300,000   -     500,000 10  20,000  27,500
 เกิน 500,000   -     750,000 15  37,500  65,000
 เกิน 750,000   -  1,000,000 20  50,000  115,000
 เกิน 1,000,000  -  2,000,000 25  250,000  365,000
 เกิน 2,000,000  -  5,000,000 30  900,000  1,265,000
 เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป 35    
 
ส่วนจำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 2 จะคิดเป็น 0.5% ของยอดเงินได้พึงประเมิน หรือก็คือ
นำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 แล้วคูณด้วย 0.005 นั่นเอง
ถ้าหากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 แต่ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1

รูปประกอบ
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2          
ยอดเงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1                              xxxx (9)
จำนวนภาษีตามการคำนวณวิธีที่ 2                                                                      xxxx (10) = (9)*0.005

หลังจากคำนวณภาษีทั้ง 2 วิธีให้เปรียบเทียบจำนวนภาษีตามการคำนวณทั้ง 2 วิธี โดยจำนวนภาษีคำนวณได้ตามวิธีใดสูงกว่าก็ให้ใช้จำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย แล้วนำไปหักออกด้วย ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า และเครดิตภาษีเงินปันผล เหลือภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย แต่ถ้าหากคำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องเสียแล้วพบว่า ภาษีเงินได้ที่เสียไว้เกินก็สามารถขอคืนได้

รูปประกอบ
จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เท่ากับจำนวนที่สูงกว่าระหว่าง (8) และ (10)        xxxx (11)
หัก      ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว                 xx                   
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว                      xx                 
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า                             xx                 
เครดิตภาษีเงินปันผล                                 xx                                            xxxx (12)
เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)                                     xxxx (13) = (11) – (12)

ถ้าหากคุณมีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน สามารถสอบถามได้ที่คอมเมนต์ด้านล่าง เพราะวางแผนการเงินกับอาจารย์ปิง อยากมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน
 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ


      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 
 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลกับThaiPFA  #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน 
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th  , www.thaipfaonline.com , www.allaboutfin.com
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA