สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมมองของ สายธุรกิจต่างๆ
 

นักวางแผนการเงิน CFP คือ ผู้ให้คำปรึกษาทางการเงิน ที่จะวางแผน พาผู้รับคำปรึกษา ไปถึงเป้าหมายทางการเงิน ที่ผู้รับคำปรึกษาได้ตั้งเป้าหมายไว้ บางคนอยากมีบ้าน อยากมีรถ อยากแก้หนี้ อยากทำธุรกิจ อยากวางแผนภาษี อยากวางแผนที่จะเกษียณ และทุกๆเป้าหมายทางการเงินที่ผู้รับคำปรึกษาอยากจะให้เกิดขึ้น ด้วย
หน้าที่ของ นักวางแผนการเงิน CFP คือ ทำความฝันหรือความต้องการให้ผู้รับคำปรึกษาให้สำเร็จตามที่ได้วางแผนกันไว้

บทความนี้ ทางศูนย์อบรม ThaiPFA ได้รวบรวม นิยาม นักวางแผนการเงิน CFP ในมุมมองของ สายธุรกิจต่างๆ ให้ทุกท่านได้ทราบถึงแต่ล่ะนิยาม ความหมาย ต่างๆ ของ นักวางแผนการเงิน CFP ดังนี้

นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมของตลาดทุน
 


นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมของสมาคมประกันวินาศภัย
 

 

นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมของอนุกรรมการ ประกันสังคม

 

 

นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมของประกันชีวิต

 

 

และนี้ก็คือนิยามทั้งหมดของ นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ แล้วนิยามของคุณล่ะ นักวางแผนการเงิน CFP คืออะไร 

 

สามารถดูรายละเอียดเส้นทางการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ได้ที่  www.thaipfa.co.th


  4 E's: เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
สมาคมนักวางแผนการเงินไทยผลิตนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM ที่มีความรู้ ความสามารถและยึดมั่นในจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ให้บริการวางแผนการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย FPSB อันได้แก่ 4 E's คือ ผ่านการอบรม (Education) และการสอบ (Examination) มีประสบการณ์การทำงาน (Experience) และปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (Ethics) รวมทั้งมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
 

- E1 คือ Education (การศึกษา) นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT

จะต้องมีความรู้ด้านการวางแผนการเงินและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติตามมาตรฐานที่สมาคมฯ กำหนด โดยต้องเข้ารับการอบรมกับสถาบันอบรมที่ได้รับอนุญาตของสมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานความรู้ 6 ชุดวิชา ทั้งนี้หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP® สามารถใช้เป็นหลักสูตรอบรมความรู้สำหรับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ดังนี้
  1. ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial  Planning, Taxation, and Ethics and Practice Standards) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 21 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง
  2. ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 12 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 12 ชั่วโมง
  3. ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning)
  4. ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 21 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 3 ชั่วโมง
  5. ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 17.30 ชั่วโมง
  6. ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 9 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 9 ชั่วโมง
*** การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ แต่การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 6 จำเป็นต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ก่อน แนะนำให้เริ่มเรียนจาก ชุดวิชาที่ 1 และ จบด้วยชุดวิชาที่ 6
 

- E2 คือ Examination (การสอบ) นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT

จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อประเมินความสามารถในการนำความรู้ และทักษะจากการอบรมไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการเงิน ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาครอบคลุมแต่ละชุดวิชา ดังต่อไปนี้
  1. ข้อสอบฉบับที่ 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
  2. ข้อสอบฉบับที่ 2. การวางแผนการลงทุน (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
  3. ข้อสอบฉบับที่ 3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรม ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย และการอบรมชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
  4. ข้อสอบฉบับที่ 4. ส่วนที่ 1: การวางแผนภาษีและมรดก (ปรนัย 45 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก
    ข้อสอบฉบับที่ 4. ส่วนที่ 2: ข้อสอบแผนการเงิน ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 1 - 6  
 

- E3 คือ Experience (ประสบการณ์การทำงาน) สมาคมนักวางแผนการเงินไทย กำหนดให้นักวางแผนการเงิน CFP

จะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการวางแผนการเงินแก่ลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถในเชิงปฏิบัติ
  1. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนการสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP หรือ
  2. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ภายในระยะเวลา 8 ปีหลังการสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP หรือ
  3. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ร่วมกัน
หน่วยงาน ตำแหน่งงาน
ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
 
นักวางแผนการเงิน
ผู้จัดการกองทุน
นักวิเคราะห์
วาณิชธนกิจ/ธนบดีธนกิจ (IB)
ผู้แนะนำการลงทุน
เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน
ผู้บรรยาย หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการเงินและการลงทุน และด้านการกำกับและตรวจสอบ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผู้จัดการกองทุน
เจ้าหน้าที่สมาชิกสัมพันธ์
สำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการลงทุน
หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ
บริษัทประกันชีวิต เจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน
นักคณิตศาสตร์ประกันชีวิต
ผู้พิจารณารับประกัน (Underwriter) และสินไหมประกันชีวิต
เจ้าหน้าที่กำกับและตรวจสอบ
ตัวแทนขาย
เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์กรมธรรม์
ผู้บรรยายด้านประกันชีวิต
อื่นๆ ตามที่สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
 

- E4 คือ Ethics (จรรยาบรรณ) นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

และผู้สมัครจะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “ประมวล จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” และ “หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน” ซึ่ง เป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และผู้สมัครพึงปฏิบัติต่อสาธารณะ ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชนที่มีต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน
 
ตารางอบรมCFP
รายละเอียดการอบรมCFP
สมัครอบรมCFP
ที่มา www.thaipfa.co.th
สรุปเป็นภาพง่าย การจะเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ต้องทำอย่างไร บ้างดังนี้

ทำยังไงจะได้ใบอนุญาตที่ปรึกษาการวางแผนการเงิน CFP

 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ


      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 
 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลกับThaiPFA  #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน 
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th  , www.thaipfaonline.com , www.allaboutfin.com
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077


 

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA